ปลูกตะไคร้ตัดใบขายปลูกครั้งเดียวทำรายได้ทั้งปี 100,000 บาท/เดือน

การปลูกตะไคร้เพื่อตัดใบจำหน่ายก็ถือว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกร ที่สามารถปลูกได้ง่ายดูแลง่ายและกลายเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างกว้างขวางเพราะสามารถนำมาทำอาหารได้ซึ่งด้วยเหตุนี้นี่เอง



ทำให้มีชาวเกษตรกรคuหนึ่งนั่นก็คือ คุณกฤษณา ช่างยา อดีตบรรณารักษ์ ได้มีการหันหลังให้กับงานประจำในรั้วมหาวิทยาลัย จากนั้นก็ก้าวสู่ความเป็นอาชีพเกษตร และมีการเปลี่ยนพื้นที่ดินที่นาจำนวนกว่า 30 ไร่ มาปลูกตะไคร้ 3 สายพันธุ์ โดยมีการขายทั้งหัวสดและหัวตากแห้งบอกเลยว่ายอดขายในแต่ละเดือน นั้นนับแสนบาทต่อเดือuเลยก็ว่าได้

นางกฤษณา ช่างยา นั้นเป็นเจ้าของของสวน บ้านตะไคร้มหาสารคาม ที่จังหวัดมหาสารคามโดยก่อนหน้านั้นเคยทำอาชีพบรรณารักษ์ที่คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคามมีการควบคู่กับการปลูกดอกดาวเรืองตัดดอกขายส่งตลาดไท



แต่ต่อมาก็ได้มองเห็นตลาดการซื้อขาย ของตะไคร้และเห็นว่ามีโอกาสที่จะทำรายได้ให้กับครอบครัวจึงได้เข้าไปปรึกษากับครอบครัวและมีการทดลองปลูกตะไคร้ด้วยตัวเอง

โดยมีการแบ่งพื้นที่นาเดิมมาขุดร่องทำแปลงปลูกไม่นาน…ยอดสั่งซื้อตะไคร้นั้นก็มีจำนวนเพิ่มมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ตัดสินใจลาออกจากงานประจำมาทำสวนตะไคร้กันอย่างเต็มตัวและมีการลงทุนปรับพื้นที่นาจำนวน 30 ไร่มาปลูกตะไคร้

3 สายพันธุ์นั่นก็คือ ตะไคร้แดง ตะไคร้ขาวเกษตร และตะไคร้หยวกโดยลูกค้าส่วนใหญ่น่าจะเป็นลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมอาหารเช่น โรงงานทำพริกแกง โรงงานผลิตผงปรุงรสบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป



โดยตะไคร้ถือเป็นพืชผักสวนครัวที่สามารถดูแลได้ไม่ยุ่งยากสามารถปลูกในดินได้แทบทุกสภาพดินแต่ทางที่ดีควรจะเป็นดินร่วนปนทรายจะดีที่สุดเพราะจะแตกรากและก็ได้เป็นอย่างดี

โดยเคล็ดลับการปลูกตะไคร้ของที่นี่จะเริ่มจากการ ไถตีแปลง / พรวนดิน / เตรียมต้นพันธุ์ที่ตัดใบออก ให้เหลือต้นยาว ประมาณสัก 30-40 ซม. และนำมาไว้ในที่ร่ม

จากนั้นก็รดน้ำเช้าเย็นประมาณ 3-5 วัน เพื่อให้รากงอกโดย รากที่แก่เต็มที่จะมีสีเหลืองเข้มและสามารถ นำไปปลุกในแปลง โดยการเว้นระยะแต่ละกอกว้างคูณยาว 1 เมตรคูณ 1 เมตร



ถ้าเป็นตะไคร้ตัดใบ จะลดระยะความกว้างของร่อง และต้นลงมาเหลือ 50-70 เซน ส่วนการวางต้นพันธุ์ ให้วางเอียง45องศา ไปด้านใดด้านหนึ่งแล้วกลบดิน ในระยะ 2 สัปดาห์แรก จะต้องให้น้ำสม่ำเสมอวันละ 2 ครั้ง เช้าเย็น
จนตะใคร้แตกใบจากนั้นเหลือให้น้ำวันละครัง ส่วนการให้น้ำจะใช้สายน้ำหยด หรือระบบสปริงเกอร์ก็ได้ ตามที่ผู้ปลูกถนัดหรือตามพื้นที่ของเจ้าของสวน

ซึ่งตะไคร้ถือเป็นพืช ที่มีศัตรูพืชค่อนข้างน้อยดูแลได้ง่ายและสามารถเก็บเกี่ยวได้ภายใน 6 เดือu และเมื่อตัดแล้ว 3 เดือนก็สามารถตัดใบได้อย่างต่อเนื่อง

โดยตะไคร้สดนั้นสามารถขายได้กิโลกรัมละ 7 – 20 บาท และยิ่งถ้าหากเป็นหน้าแล้งตะไคร่ก็จะมีราคาสูงมากยิ่งขึ้นขายได้กิโลกรัมละ 20 บาท ส่วนตะไคร้ตากแห้งนั้นจะขายในกิโลกรัมละ 14 – 20 บาท โดยยอดขายในแต่ละเดือนด้วย



การตัดหัวสดก็จะมีลูกค้าจากโรงงานมารับซื้อสัปดาห์ประมาณ 50 ตัน และจะมีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมารับซื้อตะไคร้ตากแห้งอีกเดือนละ 100 กิโลกรัม ทำให้มียอดขายไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท เลยทีเดียว

และนอกจากนี้ในส่วนของใบตะไคร้ที่ใครหลายๆคนมองข้ามกันนั้นก็สามารถนำมาสร้างรายได้ได้ด้วยเช่นกัน

โดยล่าสุดได้มีเพจของสวนตะไคร้คุณหญิงโคราชมีการเผยแพร่ ออกมาโดยมีการโพสต์ข้อความไว้ที่ว่า ท่านใดสนใจต้นตะไคร้ตัดใบถ้าตะไคร้อายุเกิน 4 เดือนตัดต้นตะไคร้แบบผ้าประมาณคืบจากดินใบใหม่ก็จะออกและสามารถตัดใบขายได้อีกประมาณ 20 ถึง 25



วันข้างหน้าหากท่านใดสนใจร่วมทีมงานจะมีการรับซื้อตลอดปีโดยสามารถติดต่อได้ที่ 099-5057183 (หญิง) / 081-8796788 (บอย)



นอกจากนี้ก็ยังมีการเผยแพร่เกี่ยวกับการปลูกตะไคร้เพื่อให้ได้ใบขายสำหรับที่ผู้สนใจซึ่งสามารถทำได้ดังนี้

  1. พันธ์ตะไคร้ที่ใช้ปลูก พันธุ์หยวก พันธุ์เกษตร พันธุ์กาบแดง ยกเว้น ตะไคร้หอม
  2. การปลูก ในพื้นที่ 1 ไร
    2.1 ใช้กล้าพันธุ์ 400 กก. ราคา 6,000 บาท
    2.2 ระยะการ ปลูก 25x25x60 ชม.
  3. ผลผลิตต่อไร่
    3.1 เริ่มเก็บเกี่ยวครั้งแรกที่อายุ 90 วัน หลังจากนั้นเก็บเกี่ยวทุกๆ 20- 25 วัน เป็นเวลาประมาณ 2 ปี
    3.2 ใบสดประมาณ 1,000-1,500 กก.
    3.3 ใบแห้ง ประมาณ 300-400 กก. ( ใบสด 4 กก.ไดใบแห้ง 1 กก.)
  4. ราคารับซื้อ ณ.สวน คุณหญิง
    4.1 ใบสด 2.5 บาท/กก.
    4.2 ใบแห้ง 10-15 บาท/กก. ขึ้นอยู่กับคุณภาพสินค้า
    4.3 ประกันราคารับซื้อขั้นต่ำ 10 บาท/กก.
  5. เพื่อความมั่นใจ ของผู้สนใจทุกท่าน เรายินดีทำบันทึกข้อตกลงในชื้อ-ขาย #รวมกันซื้อ รวมการขาย รวมกันกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 09 9505 7183 หญิง / 081879 6788 บอย

แหล่งที่มา : hunsa.siamtodaynews.com

ภาพประกอบเนื้อหาจากอิเตอร์เน็ต

อ้างอิงข้อมูลจาก : https://www.poobpub.com/



 1,441 total views,  5 views today

About the author