หลังการปลูกกล้วยน้ำหว้าแล้ว การดูแลกล้วยน้ำหว้า เป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพื่อให้ได้ผลผลิต และรายได้ต่อเนื่อง หากเกษตรกรปล่อยปละละเลย นอกจากจะได้ผลกล้วยที่ไม่ได้คุณภาพแล้ว

โรคของกล้วยน้ำหว้าและแมลงศัตรูพืชของกล้วยน้หำว้า ก็จะตามมาท่านผู้อ่านสามารถติดตามทั้งสองบทความที่กล่าวถึง เพื่อศึกษาวิธีป้องกันและกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชของกล้วย เพื่อให้ การดูแลกล้วยน้ำหว้า เป็นไปอย่างครบวงจร

การดูแลกล้วยน้ำหว้ามีหลายด้านให้ปฎิบัติดังนี้
ให้น้ำ เป็นสิ่งสำคัญในการปลูกกล้วยน้ำว้า แต่อย่าให้ท่วมขัง เพราะรากจะเน่า ควรหาเศษฟาง เศษใบไม้แห้งหรือใบตองที่ได้จากการตัดแต่งใบต้นกล้วยคลุมที่โคนต้น การให้น้ำต้นกล้วยน้ำหว้าช่วงที่ปลูกใหม่ ให้รดน้ำวันเว้นวัน ประมาณครั้งละ 10 นาที เมื่อกล้วยตั้งตัวได้แล้ว รดน้ำ 2-3วันครั้ง หรือ 1 ครั้งต่อสัปดาห์
แหล่งน้ำ
1.น้ำฝน
2.น้ำจากชลประทาน
3.น้ำบ่อบาดาลหรือบ่อกักเก็บ
4.น้ำจากแม่น้ำลำคลอง

ระบบการให้น้ำแบ่งได้ 3 ลักษณะใหญ่
1.แบบให้น้ำเหนือผิวดิน
2.แบบให้น้ำไหลตามผิวดิน
3.แบบให้น้ำใต้ผิวดิน
ในสวนกล้วยนิยม ให้น้ำเหนือผิวดินมากที่สุด เพราะเป็นการให้น้ำเลียนแบบธรรมชาติและมีประสิทธิภาพมากกว่าแบบอื่นๆ วิธีการให้น้ำเหนือผิวดินมีวิธีการปลีกย่อยออกเป็น 2 แบบ คือ การให้น้ำโดยทั่วถึง และการให้น้ำแบบเฉพาะจุด เช่น การให้แบบน้ำหยด และการให้น้ำแบบมินิสปริงเกลอร์ เป็นต้น
1. การให้น้ำโดยทั่วถึง นิยมใช้ในภาคกลาง คือยกร่องสวนให้มีน้ำล้อมรอบ แล้วใช้เรือวิ่งสูบน้ำรดต้นกล้วยไปตามร่องน้ำจนชุ่ม ช่วยประหยัดต้นทุนและลดปัญหาเรื่องแหล่งน้ำได้ เป็นวิธีการให้น้ำแบบครอบคลุมทั่วพื้นที่ ทั้งบริเวณที่ปลูกต้นกล้วย และไม่ได้ปลูก โดยใช้เครื่องสูบน้ำรดแปลงจนชุ่ม

เลียนแบบธรรมชาติเหมือนฝนตก การให้น้ำลักษณะนี้ ถ้ามีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์อยู่ในพื้นที่ และเป็นพื้นที่ลุ่ม ก็ไม่มีปัญหา แต่ต้นทุนจากการสูบน้ำจะสูงกว่าปกติ หากเป็นพื้นที่ดอน หรือเป็นช่วงขาดแคลนน้ำ ก็เป็นวิธีการที่ไม่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดปัญหาเรื่องแหล่งน้ำ การให้น้ำลักษณะนี้ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ และสิ้นเปลืองพลังงาน
2. การให้น้ำแบบเฉพาะจุด นิยมใช้ในปัจจุบัน เหมาะสำหรับพื้นที่สวนในที่ดอน หาแหล่งน้ำย าก แต่ดินควรเป็นดินเนื้อละเอียดถึงค่อนข้างหยาบ น้ำจะไหลซึมแผ่กระจายทางด้านข้างซึ่งเป็นบริเวณที่รากแผ่กระจายและควรรดให้ชุ่มพอที่รากจะดูดซับน้ำไปเลี้ยงต้นได้ตามที่พืชต้องการ ส่วนดินที่ร่วนซุยจะทำให้น้ำไหลเร็ว

แทนที่จะไหลซึม วิธีนี้เป็นการให้น้ำเฉพาะเขตรากต้นกล้วยน้ำว้าเท่านั้น ใช้น้ำในปริมาณที่น้อยแต่ให้ต้นกล้วยน้ำว้าได้รับความชุ่มชื้น จะอยู่ในรูปของ
อุปกรณ์ให้น้ำแบบหยดเล็กๆมี 2 แบบคือ
มินิสปริงเกลอร์ต่อหัวจ่ายขนาดเล็กเข้ากับท่อหลักที่สูบน้ำ ส่งผ่านแรงดัน ผ่านหัวจ่ายมินิสปริงเกลอร์ น้ำจะถูกพ่นเป็นฝอยเล็กๆ มาเฉพาะจุดที่จัดวางไว้
หัวจ่ายน้ำหยดน้ำที่ถูกส่งมาจากท่อหลักจะถูกบังคับให้หยดทีละหยดผ่านหัวจ่ายน้ำหยดที่ติดตั้งไว้บริเวณโคนต้นกล้วยน้ำว้า
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบน้ำสวนกล้วย
ระบบน้ำหยดจะมีปัญหาเวลาใส่ปุ๋ย ปุ๋ยจะไม่ค่อยละลาย ต้องใส่ปุ๋ยละลายตามท่อ แต่ ถ้าใช้แบบหัวจ่ายมินิสปริงเกลอร์ ฝอยจะกระจายเป็นวงกว้าง ได้ผลดีกว่าเพราะความชื้นกว้างกว่า สามารถหว่านปุ๋ยไว้โคนต้นได้
2.1 อุปกรณ์สำคัญในการติดตั้งระบบการให้น้ำเฉพาะจุด
- เครื่องสูบน้ำ จะเลือกสูบน้ำโดยใช้ปั๊มมอเตอร์ไฟฟ้าหรือแบบติดตั้งกับเครื่องยนต์ก็ได้
2. เครื่องกรองน้ำ เพื่อกรองเศษวัชพืช ใบไม้ ทราย เมล็ดพืช เศษหินหรือสิ่งสกปรกออกจากน้ำ ป้องกันการอุดตันของหัวจ่ายมินิสปริงเกลอร์ และหัวจ่ายน้ำหยด
3. หัวจ่ายน้ำ ใช้เป็นแบบละอองฝอย หรือหยดทีละหยด ขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกร
4. ท่อหลัก ส่วนใหญ่นิยมใช้ท่อพลาสติกพีวีซี หรือจะใช้ท่อเหล็กก็ได้ ใช้ต่อจากเครื่องสูบน้ำ แล้วเดินท่อย่อยต่อไปยังจุดต่างๆ ที่เกษตรกรต้องการ
5. ท่อย่อย ขนาดเล็กกว่าท่อหลัก เดินท่อไปตามจุดต่างๆ และติดตั้งหัวจ่ายน้ำให้ต้นกล้วย
2.2 ข้อดีและข้อเสียของการใช้ระบบให้น้ำแบบเฉพาะจุด
ข้อดีคือ
(1) ประสิทธิภาพการให้น้ำสูงมาก เพราะว่าสามารถควบคุมน้ำได้ทุกขั้นตอนและมีการสูญเสียโดยการระเหยของน้ำน้อย
(2) ค่าใช้จ่ายในการให้น้ำน้อย เพราะไม่ต้องใช้แรงงานในการให้น้ำมาก
(3) สามารถให้ปุ๋ยและสารอื่นๆ แก่พืชพร้อมๆ กับการให้น้ำได้ด้วย โดยการผสมปุ๋ยหรือสารเข้ากับน้ำทางท่อดูดของเครื่องสูบน้ำเข้าไปในระบบ
(4) ไม่มีปัญหาโรคพืชหรือแมลงศัตรูพืช ที่เกี่ยวเนื่องจากการเปียกชื้นของใบ
(5) ลดปัญหาของการแพร่กระจายของวัชพืช เนื่องจากว่าน้ำที่ให้แก่พืชจะต้องเปียกผิวดินเป็นบริเวณแคบๆ เท่านั้น
(6) ไม่มีปัญหา เรื่องลมแรงที่จะพัดพาน้ำไปตกที่อื่น
(7) ไม่ต้องใช้ระบบส่งน้ำขนาดใหญ่ หรือเครื่องสูบน้ำที่มีแรงม้าสูง
(8) การให้ปุ๋ยและสารโดยการผสมลงไปกับน้ำ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายสำหรับปุ๋ยและสารก็จะลดลงด้วย
(9) ระบบการให้น้ำแบบนี้ จะมีระยะเวลาการใช้งานที่ยาวนาน ยกเว้นเรื่องการอุดตันของหัวจ่ายน้ำ
(10) สามารถทำการติดตั้งการให้น้ำแบบอัตโนมัติได้ไม่ยาก เช่น ให้น้ำตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้ หรือให้น้ำเมื่อความชื้นของดินบริเวณรากลดลงถึงระดับหนึ่ง เป็นต้น
(11) ลดปัญหาเรื่องอัตราการซึมของน้ำไปในดิน เพราะอัตราการให้น้ำจะไม่มากพอที่จะทำให้ดินเปียกชุ่ม เป็นบริเวณกว้างอยู่แล้ว
ข้อเสียคือ
(1) มีปัญหาเรื่องการอุดตันที่หัวจ่ายน้ำมาก เนื่องมาจากตะกอน ทราย ตะไคร่น้ำ หรือเนื่องมาจากการสะสมตัวของสารเคมีในน้ำ
(2) บริเวณที่เปียกชื้นไม่กว้างขวางนัก ความเข้มข้นของเกลือซึ่งมักจะเกิดขึ้นในบริเวณรอบนอกของส่วนที่เปียกชื้น จึงมักจะสูงและอาจจะเป็นอันตรายต่อพืชได้
(3) ค่าลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง เพราะจะต้องมีอุปกรณ์หลายอย่าง
ให้ปุ๋ย กล้วยเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารมาก การติดผลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาหารและน้ำที่ได้รับ กล้วยต้องการธาตุอาหารทั้งหมด 16 ธาตุเหมือนพืชทั่วไป โดยธาตุอาหารของพืชนี้จะได้จากอากาศ น้ำในดิน แร่ธาตุในดิน ซึ่งธาตุอาหารที่พืชและกล้วยต้องการ ประกอบด้วย
(1) ธาตุหลักที่ต้องการ ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม
(2) ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม กำมะถัน
(3) ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก ทองแดง สังกะสี โมลิบดีนัม แมงกานิส โบรอน คลอรีน
แหล่งที่มา http://www.m-group.in.th
ภาพประกอบเนื้อหาจากอิเตอร์เน็ต
อ้างอิงข้อมูลจาก : https://xn--12cmh8bbc4da0bh2bc2a3d5edobk6sg.com/?p=11709
1,218 total views, 6 views today